วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างของลักษณะการเรียนในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย

    

การเรียนในโรงเรียนเป็นการเรียนภาคบังคับ มีกฏ มีระเบียบ เป็นสังคมที่สนุกสนาน มาจากที่เดียวกันบ้าง ต่างหมู่บ้านต่างอำเภอ เป็นสังคมที่เล็กกว่าสังคมมหาวิทยาลัย การเรียน การสอน การทำงาน อาจารย์ก็ติดตาม ครอบครัวก็อยู่ใกล้ชิดมีคนคอยกำกับดูแล  แต่การเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นชีวิตที่มีอิสระคุณต้องรับผิดชอบตัวของคุณเอง  ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก ไม่มีใครมาคอยบอกคอยเตือนให้ คุณไปเรียน ให้ทำงานส่งอาจารย์ ให้ไปสอบ คุณต้องทำทุกอย่างด้วยตัวของคุณเอง เพราะนี่คืออนาคตของคุณ
   
                            
      
    






                                                                                                              

ความหมายของการรู้สารสนเทศและกระบวนการรู้สารสนเทศ

    การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม

การทำรายงานกลุ่ม
การทำงานเป็นทีม
   คือการทำงานเป็นกลุ่มบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน และมีการแบ่งหน้าทีกันอย่างพึงพอใจ การทำางานเป็นทีม (team work) คือกลุ่มบุคคลที่ีมีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน
ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม
-ผลงานย่อมสูงกว่าคนเดียวทำ
-มีความรู้สึกที่ดี
-ผลสำเร็จเป็นของทีมงาน
-เกิดพลัง
-เกิดความรักความสามัคคี
-มีสัมพันธภาพที่ดี
-ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ลักษณะที่ดีทีของการทำงานเป็นทีม
1. บรรยากาศภายในกลุ่ม
2. สมาชิกเข้าใจวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
3. สมาชิกปรึกษาในสิ่งที่ีเป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม
4. สมาชิกโต้แย้งกันด้วยเหตุผลและหลักการ
5. แม้มีข้อขัดแย้ง สมาชิกทุกคนยังเต็มใจที่จะเป็นส่วนรวมของกลุ่ม
6. การทำงาน มุ่งสร้างสรรค์ และแก้ปัญหา
7. เป็นประชาธิปไตย
8. ยอมรับในความสามารถของกันและกัน
9. ผู้นำและผู้ตามไม่บีบบังคับซึ่งกันและกัน
10. มีการตรวจสอบการทำงานของทีมเป็นระยะ ๆ
ปัจจัยที่ีมีผลกระทบต่อทีม
1. ความขัดแย้ง  6. การเสียสละ
2. ความจริงใจ   7. ความแตกต่าง
3. ผลประโยชน์  8. เรื่องส่วนตัว
4. การมีส่วนร่วม 9. ประสบการณ์
5. การนำเสนอ  10. การใช้คำพูด
การลดความขัดแย้งของทีม
1.เปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็น
2. หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องส่วนตัว
3. มุ่งประเด็นไปที่ข้อขัดแย้ง
4. อย่าใช้ภาษาดูหมิ่น เสียดสี 
5. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
6. ยึดหลักเหตุผล

  หัวใจของการทำงานเป็นทีม ขึ้นอยู่กับการมีผู้นำที่เข็มแข็ง ประคับประคองให้ทีมก้าวสู่ข้างหน้าตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ด้วยความมั้นใจ ผู้ตามเป็นบุคคลสำคัญที่จะขับเคลื่อนงานของทีมให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทีมงานต้องกระทำด้วยการร่วมใจร่วมคิดและร่วมทำ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เดาข้อสอบบทบาทสารสนเทศกับสังคม

1.เทคโนโลยีไฮเทคในปัจจุบันมีกี่กลุ่ม อะไรบ้าง
ตอบ 5 กลุ่ม เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.เทคโนโลยีสารสเทศมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อ GDP ของประเทศอย่างไร
ตอบ -ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม
         - ขยายตลาด
         - เกิดการจ้างงานตั้งแต่กรรมกรถึงวิศวกรรม
3.ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศกับบุคคล
  1.ATM:Autmatic Teller Machine
  2.Electronic Banking
  3.Knowledge management
  4.Tele-Conference
4.สารสนเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่มีชื่อเรียกว่าอย่างไร
ตอบ เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge-based Economy)
5.เทคโนโลยีใดเกี่ยวข้องกับการศึกษา
  1.Tele-Conference
  2.e-Commerce
  3.Virtual Reality
  4.fibre optics
6.ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการจัดการเรียนการสอนแบบใด
ตอบ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดตั้งรัฐบาล 54

พรรคร่วมรัฐบาล
โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลคือ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล และพรรคมหาชน
- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง
- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง
เมื่อรวมกับพรรคเพื่อไทย 265 ที่นั่ง ก็จะได้ 299 เสียงที่นั่ง
พรรคฝ่ายค้าน 
 -พรรคประชาธิปัตย์  ได้ ส.ส 159 ที่นั่ง
 -พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส  34 ที่นั่ง
 -พรรครักประเทศไทย  ได้ ส.ส 4 ที่นั่ง
 -พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส 2 ที่นั่ง
 -พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส 1 ที่นั่ง
 -พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส  1 ที่นั่ง
  รวม 201 เสียงที่นั่ง

ผลการเลือกตั้ง 54

 คะแนนแบบบัญชีรายขื่อ

พรรค

คะแนน

ร้อยละ

ที่นั่ง
 พรรคเพื่อไทย (พท.)          15,743,410  48.0%   61
 พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)          11,433,501  35.1%   44
 พรรคภูมิใจไทย (ภท.)          1,281,522  4.03%    5
 พรรครักประเทศไทย (ชูวิทย์)          998,527  3.0%    4
 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)          494,894  1.6%    2


พรรคการเมืองที่ได้จำนวนที่นั่งสูงสุด 5 อันดับ
อันดับพรรคการเมืองจำนวนที่นั่งแบบแบ่งแขตจำนวนที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนที่นั่งรวม
1พรรคเพื่อไทย (พท.)                204                 61        265
2พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)                115                 44        159
3พรรคภูมิใจไทย (ภท.)                29                  5          34
4พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)                15                  4          19
5พรรคหลังชล                 6                  1           7
5พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)                 5                  2           7

บทบาทสารสนเทศกับสังคม

1.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
   ปัจจุบันสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้าที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน สารสนเทศกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด และกำลังจะกลายเป็นฐานแหล่งอำนาจอันแท้จริงในอนาคต ทั้งในทางเศรษฐกิจ และทางการเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่มีผลเสียต่อภาวะแวดล้อมหรือมีเพียงเล็กน้อยมาก ยิ่งกว่านั้นสารสนเทศจะสามารถช่วยให้กิจกรรมการผลิตและการบริการต่าง ๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำสังคมสู่วิวัฒนาการอีกระดับหนึ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็น สังคมสารสนเทศ
    ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสานเทศ ในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
    1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
    2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
    3) การยอมรับจากสังคม
    4) การนำไปใประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
    5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1991 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุกๆประเด็น
2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
    เทคโนโลยีสารสนเทศถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ เพราะการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันจึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ
3.สารสนเทศกับบุคคล
    การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ(ATM:Automatic Teller Machine) ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์(Electronic Banking)การประชุมทางไกล(Tele-Conference)การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์(e-Commerce)การศึกษาทางไกล(Tele-Education)ระบบห้องสมุดดิจิตอล(Digital Library)
4.สารสนเทศกับสังคม
  4.1 ด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา
   4.2 ด้านสังคม สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสัดวกสบายในการดำเนินชีวิต
   4.3 ด้านเศรษฐกิจ สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge-Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ "การจัดการความรู้"(knowledge managament) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้ารธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน
   4.4 ด้านวัฒนธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคี ความมั่นคงในชาติ
5.บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
   1.เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาศทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน(Education for All)" อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา
    2. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวคือนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหวนอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรมการประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet Conference) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากรและเวลา

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การกระทำที่ไม่ดี

วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2554 รายวิชา 0026008 ตึก D ห้อง 409 มีนิสิตชาย 2 คน ชื่อ ปรีชาและอนุเดช แต่งกายไม่เรียบร้อย แล้วก็โดนอาจารย์หักคะแนนไปเรียบร้อยแล้ว