วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทบาทสารสนเทศกับสังคม

1.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
   ปัจจุบันสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้าที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน สารสนเทศกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด และกำลังจะกลายเป็นฐานแหล่งอำนาจอันแท้จริงในอนาคต ทั้งในทางเศรษฐกิจ และทางการเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่มีผลเสียต่อภาวะแวดล้อมหรือมีเพียงเล็กน้อยมาก ยิ่งกว่านั้นสารสนเทศจะสามารถช่วยให้กิจกรรมการผลิตและการบริการต่าง ๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำสังคมสู่วิวัฒนาการอีกระดับหนึ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็น สังคมสารสนเทศ
    ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสานเทศ ในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
    1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
    2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
    3) การยอมรับจากสังคม
    4) การนำไปใประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
    5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1991 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุกๆประเด็น
2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
    เทคโนโลยีสารสนเทศถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ เพราะการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันจึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ
3.สารสนเทศกับบุคคล
    การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ(ATM:Automatic Teller Machine) ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์(Electronic Banking)การประชุมทางไกล(Tele-Conference)การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์(e-Commerce)การศึกษาทางไกล(Tele-Education)ระบบห้องสมุดดิจิตอล(Digital Library)
4.สารสนเทศกับสังคม
  4.1 ด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา
   4.2 ด้านสังคม สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสัดวกสบายในการดำเนินชีวิต
   4.3 ด้านเศรษฐกิจ สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge-Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ "การจัดการความรู้"(knowledge managament) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้ารธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน
   4.4 ด้านวัฒนธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคี ความมั่นคงในชาติ
5.บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
   1.เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาศทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน(Education for All)" อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา
    2. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวคือนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหวนอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรมการประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet Conference) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากรและเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น