วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
  ข้อมูล(Data) หมายถึง เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า รายการส่งสินค้า ยอดขายในแต่ละวัน
   สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการทางความคิด คำนวณ ประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชชน์ตามวัตถุประสงค์ ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา
ความสำคัญของสารสนเทศ
    -กำหนดแนงทางการพัฒนานโยบายทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรม
    -การพัฒนามนุษย์และสังคม โดยเสริมสร้างความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
    -เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ช่วยวางแผนและช่วยตัดสินใจ
ประเภทของสารสนเทศ
   จำแนกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1.ตามแหล่งสารสนเทศ ดังนี้
  1.1.แหล่งปฐมภูมิ(Primary  Source) คือ
  -ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง
  -เป็นสารสนเทศทางวิชาการ เช่น ผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  -ถูกถ่ายทอดในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย
  1.2.แหล่งทุติยภูมิ(Secondary  Source) คือ
  -เกิดจากการรวบรวมเรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
  -อยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง
  1.3.แหล่งตติยภูมิ(Tertiary  Source) คือ
  -ทำขึ้นเพื่อใช้ค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ
  -มีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา
  -เผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
2.ตามสื่อที่จัดเก็บและบันทึกข้อมูล
  1.กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก
  2.วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งชนิดม้วนและแผ่น
  3.สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึก และแก้ไขข้อมูลได้สะดวก
  4.สื่อแสงหรือสื่อออปติก เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล และอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์
แหล่งสารสนเทศ
  1.แหล่งที่เป็นสถาบัน หมาถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดหารวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่างๆมาจัดเก็บไว้อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้
  2.แหล่งที่เป็นสถานที่ หมายถึง แหล่งที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหาความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น
  3.แหล่งที่เป็นบุคคล -ประเภทที่มีผลงาน
                                       -ประเภทไม่มีผลงานเป็นวัสดุสารสนเทศ
  4.แหล่งที่ป็นเหตุการณ์ กิจกรรมต่าง ๆที่เกิดขึ้น
  5.แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน วิทยุ โทรทัศน์
  6.แหล่งที่เป็นอินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการศึกษา ค้นคว้าอย่างมากมาย
ทรัพยากรสารสนเทศ(Information Resources or Information Materials)
   หมายถึง วัสดุหรือสิ่งที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และความคิดต่าง ๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
   1.ทรัพยากรตีพิมพ์(Printed  Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณ์เป็นแผ่นหรือตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดหลากหลายรูปแบบจำแนกได้ดังนี้ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค
  2.ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์(Non-print Material) คือการใช้สารสนเทศให้ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางการดู หรือการฟัง จำแนกได้ดังนี้
  -ทัศนวัสดุ(Visual Materials) เป็นการรับรู้ด้วยการดู การมอง หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับฉายประกอบ
  -โสตวัสดุ(Audio Materials) เป็นการรับรู้ด้วยการฟังอย่างเดียว
  -โสตทัศนวัสดุ(Audiovisuai Materials) เป็นทรัพยากรที่ให้เสียงและภาพเคลื่อนไหว จึงนับเป็นทรัพยากรที่สื่อสารสนเทศได้ครบถ้วนมาก
  3.สื่ออิเล็กทรอนิกส์(Eiectronic Materials)
     คือการจัดเก็บสารสนเทศข้อมูลใด ๆ ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกออกเป็น
   -ฐานข้อมูลออฟไลน์(Offlline Database) เป็นสารสนเทศที่สื่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้น หากต้องการใช้สารสนเทศข้ามเครื่องจะต้องบันทึก(Copy) สัญญาณดิจิทัลลงในสื่อ
   -ฐานข้อมูลออนไลน์(Online Database) เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการปัจจุบันนี้ระบบที่ใช้กันในชีวิประจำวันก็คืออินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น