วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

    การบังคับใช้กฎหมาย   เนื่องมาจากการที่ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะรุนแรง ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับบทลงโทษ หรือสัญญาที่จะต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่มากับเทศโนโลยีสารสนเทศ
    การใช้จริยธรรม   เริ่มจากการสร้างจริยธรรมโดยการกระทำกิจกรรมด้วยความระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองโดยพึงรำลึกอยู่เสมอว่าไม่ลุ่มหลงกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งมากจนเกินไป ตลอดจนคิดไตร่ตรองให้รอบคอบซึ่งถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่จำเป็นในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้  ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดีโดยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทสและหาแนวทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้นที่ไม่เหมาะกับเด็กและเยาวชน จากนั้นก็ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้นำเสนอมาตรฐานที่เกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ได้ผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้
     การใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทส เป็นเรื่องของการหาสมดุลย์ในการใช้จริยธรรมในการกำหนดนโยบายสารสนเทศ เพื่อเฉลยข้อกังขาในวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นที่มากับเทคโนโลยี โดยต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้นจริงและสามารถถูกกำหนดขึ้นได้ในสังคมยุคสารสนเทศนี้

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ที่มาของการปรับเปิด-ปิดภาคเรียน(ใหม่)ของมหาวิทยาลัยตามอาเซียน

   มาจากการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีมติที่จะเลื่อนการเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยทั้งหมดทั่วประเทศ ให้เวลาเปิดและปิดภาคเรียนของประเทศไทยตรงกับประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558   ในทางปฏิบัตินั้น โดยทาง ทปอ. คาดการณ์ไว้ว่าจะเริ่มต้นได้ในปี 2555 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิด-ปิดมหาวิทยาลัยในกลุ่ม   อาเซียนนั้น จากเดิมที่เปิดภาคเรียนที่ 1 เดือน มิ.ย. - ต.ค.และภาคเรียนที่ 2 เดือน พ.ย.-มี.ค.มาเป็นภาคเรียนที่ 1เดือน ก.ย.-ธ.ค.และภาคเรียนที่ 2 เดือน ม.ค.-พ.ค.

วิธีป้องกันไวรัส

1. ทำการอัพเดทแพตช์ระบบวินโดวส์และโปรแกรมแอพพลิเคชันอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์สามารถทำการอัพเดทผ่านอินเทอร์เน็ตได้จากเว็บไซต์ http://update.microsoft.com/microsoftupdate สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่นๆ ติดตามข่าวการอัพเดทเพื่อปิดช่องโหว่ความปลอดถัยได้จากเว็บไซต์ของเจาของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
2. ติดตั้งโปรแกรม Antivirus ซึ่งมีให้เลือกใช้งานหลากโปรแกรมหลายยี่ห้อ ทั้งโปรแกรม Antivirus เชิงพานิชย์และแบบฟรีแวร์ จะใช้โปรแกรมใดยี่ห้อใดก็แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล แต่ที่สำคัญต้องทำการอัพเดทไวรัสซิกเนเจอร์อย่างสม่ำเสมอ (แนะนำให้ทำการอัพเดททุกวันถ้าทำได้) สำหรับวิธีการอัพเดทไวรัสซิกเนเจอร์นั้น จะมีขั้นตอนการคอนฟิกแตกต่างกันไปตามแต่ละโปรแกรม ดังนั้นให้ศึกษาได้จากคู่มือของโปรแกรมที่ท่านใช้งานให้เข้าใจ และหลังจากทำการคอนฟิกเสร็จแล้วให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการอัพเดทประสบความสำเร็จ นอกจากนี้โปรแกรมป้องกันไวรัสบางยี่ห้อยังมีบริการให้ดาวน์โหลดไวรัสซิกเนเจอร์เพื่อนำไปทำการอัพเดทแบบแมนนวลอีกด้วย
3. ติดตั้งใช้งานโปรแกรม Personal Firewall หรือ Windows Firewall ในกรณีผู้ใช้ Windows XP หรือ Vista โดยโปรแกรม Firewall จะทำหน้าที่ป้องกันคอมพิวเตอร์จากการบุกรุกของไวรัส มัลแวร์และแฮกเกอร์ ในกรณีผู้ใช้ Windows XP หรือ Vista แนะนำให้คอนฟิก Windows Firewall ให้เริ่มทำงานโดยอัตโนมัติพร้อมกับระบบวินโดวส์ สำหรับโปรแกรม Personal Firewall นั้น มีให้เลือกใช้ทั้งแบบโปรแกรมเชิงพานิชย์และแบบฟรีแวร์
4. ติดตั้งโปรแกรม Anti Spyware เช่นเดียวกับโปรแกรม Anti Virus และ Personal Firewall คือ มีให้เลือกใช้งานหลากโปรแกรมหลายยี่ห้อ ทั้งโปรแกรมเชิงพานิชย์และแบบฟรีแวร์ และที่สำคัญคือต้องทำการอัพเดทสปายแวร์ซิกเนเจอร์อย่างสม่ำเสมอ
5. ในการใช้งานทั่วไป เช่น การพิมพ์งาน การท่องอินเทอร์เน็ต แชต ดูหนังฟังเพลง แนะนำให้เข้าใช้งานวินโดวส์ด้วยแอคเคาท์ธรรมดา คือ Limited user สำหรับ Windows XP และ Standard user สำหรับ Windows Vista
6. สำหรับผู้ใช้ Windows Vista ให้เปิดใช้งาน User Account Control (UAC) ถึงแม้ว่าผู้ใช้บางท่านจะไม่ค่อยชอบการทำงานของ UAC มากนัก เนื่องจากมันจะแจ้งเตือนบ่อยจนน่ารำคาญ แต่ UAC ก็สามารถเพิ่มความปลอดภัยให้การระบบ เนื่องจากมันจะทำหน้าที่ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระบบและแจ้งให้ผู้ใช้เป็นคนตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้ทำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหรือไม่

7. ไม่ติดตั้งโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น โปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ (แนะนำว่าไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ประเทนี้) โปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจาก BitTorrent (เฉพาะบางไซต์ครับ) เป็นต้น เนื่องจากส่วนมากแล้วโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมากจากเว็บไซต์ที่ยกตัวอย่างมานั้นจะมีมัลแวร์แอบแฝงมาด้วย
8. ไม่ควรเปิดอ่านอีเมลและไฟล์ที่แนบมากับอีเมลที่มาจากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ (แนะนำให้ทำการลบอีเมลลักษณะนี้ทิ้ง) และถ้าจำเป็นต้องเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมลให้ทำการสแกนไฟล์ด้วยโปรแกรม Anti Virus ก่อนเปิดทุกครั้ง
9. ปิดการใช้งานฟังก์ชัน Autoplay เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสที่แพร่ระบาดผ่านทางสื่อเก็บข้อมูลแบบพกพาใช้เป็นช่องทางในการรันไฟล์ไวรัสโดยอัตโนมัติ
10. ปิดเซอร์วิส Windows Script Host ซึ่งจะช่วยป้องกันไวรัสประเภท VB Script (.vbs)

11. ไม่เข้าเว็บไซต์ที่มีการแอบแฝงโค้ดประสงค์ร้าย โดยข้อนี้อาจจะต้องใช้โปรแกรมหรือฟีเจอร์บางอย่างช่วยในการแยกแยะ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Site Advisor ของ McAfee

โปรแกรมแสกนไวรัสแฮนดี้ไดร์


BitDefender USB Immunizer 1.5.0.1 โปรแกรมสแกนไวรัส ตรวจจับและลบไวรัสใน Handy drive, Flash Drive และ USB flash drive     1.  BitDefender USB Immunizer เป็นโปรแกรมจากทางค่ายแอนตี้ไวรัส BitDefender ครับ ซึ่งตัว USB Immunizer โปรแกรมนี้จะทำการป้องกันและกำจัดไวรัสในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล อัพเดทเวอร์ชันใหม่ล่าสุด BitDefender USB Immunizer 1.5 โดยโปรแกรมจะทำการตรวจจับไวรัสในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคุณไม่ว่าจะเป็น Handy drive, Flash Drive และ USB flash drive ให้หมดจด (ยกเว้นสำหรับอุปกรณ์ CD / DVD - ROM) โปรแกรมจะทำงานอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว หากตรวจพบไวรัสตัวโปรแกรมจะทำการสร้างโฟลเดอร์ Autorun.inf เพื่อป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณให้ปลอดภัยจากไวรัสเหล่านั้น

Anti Removable Disk Virus (ARDV) by Trackerx90 โปรแกรมป้องกันไวรัสที่มากับแฮนดี้ไดร์ Handy Drive    
     2.Anti Removable Disk Virus หรือที่เรียกว่า โปรแกรม ARDV คือโปรแกรมสำหรับป้องกันไวรัสที่มากับแฮนดี้ไดร์ และใช้สแกนไวรัส Scan Virus พวก thunbdrive ได้แบบตลอดเวลา realtime สามารถป้องกันไวรัส Autorun และไฟล์ที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นไวรัส ต่างๆได้ ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะลบไฟล์ต้องสงสัยได้ทันที  พัฒนาโดยคุณธงชัย แสงสว่าง โปรแกรมมีขนาดเล็กทำงานรวดเร็ว โดยจะทำงานอัตโนมัติทันทีที่มีการเชื่อมต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์





     3.AutoRunExterminator เป็นโปรแกรมสแกนไวรัสแฮนดี้ไดร์ Flash Drive, handy drive และ USB Drive โปรแกรมนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของไวรัสที่ใช้ Flash หรือ Thumb drive เป็นหลักตัวโปรแกรมสามารถปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณแบบเรียลไทม์ และลบไวรัสจากแฮนดี้ไดร์ของท่าน พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้ง RegEdit, Task Manager, Folder Option และการกระทำต่างๆ รวมทั้ง Title Bar ของ IE และนอกจากนี้ แก้ hacked by ได้ด้วย ปิด Auto Run แบบถาวรอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก และก็ ป้องกันแบบถาวร ไม่ต้องอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสบ่อยๆ ...

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ไวรัสมี 5 ประเภท



  1.บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันทีบูตไวรัสจะ ติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  2.ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น
  3.มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น
  4.หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้นอื่นๆ
   5.โทรจันม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

โปรแกรมแอนตี้ไวรัส



 
  1.Panda Cloud Antivirus 1.0 เป็นโปรแกรมสแกนไวรัส ที่พัฒนามาจากค่าย   Panda มีการสแกนไวรัสจากเซิร์ฟเวอร์ของ PandaLabs โดยที่ Panda Cloud Antivirus 1.0  เป็นโปรแกรมสแกนไวรัสรูปแบบใหม่ โดยเปลี่ยนแนวคิดของโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแบบเดิมๆ มาเป็นการทำงานผ่าน cloud computing แทน Cloud คอมพิวเตอร์ที่อยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก และเชื่อมต่อกันด้วยอินเตอร์เน็ต และทำงานร่วมกัน cloud คือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์แบบหนึ่งนั่นเอง แนวคิดของ Panda Cloud Antivirus คือการออกแบบให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก เบา ใช้พื้นที่และทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอร์น้อย และได้ย้ายการทำงานหลักๆ ออกไปทำงานบนเซิฟเวอร์ cloud แทน ไม่ว่าจะเป็น realtime protection, fully scanning, และข้อมูล      ของไวรัสที่ออกมาใหม่


  nod32box
      2.NOD32 Antivirus System เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัส ที่สามารถอัพเดทข้อมูลไวรัสตัวใหม่ได้แบบอัตโนมัติ และยังใช้ระยะเวลาในการอัพเดทน้อยมาก ด้วยความสามารถของ NOD32 สำหรับ Windows ที่จะปกป้องคุ้มครองคอมพิวเตอร์ของเรา โดยเราจะไม่ต้องกังวลกับไวรัสที่น่ารำคาญอย่าง Netsky, Mydoom หรือ Lovebug อีกต่อไป NOD32 เป็นโปรแกรมใช้งานได้ง่ายและให้ความปลอดภัยระดับองค์กร หลังจากที่ติดตั้งเสร็จสิ้น AMON ผู้ดูแลตรวจสอบระบบตลอดเวลา จะทำงานอยู่ด้านหลัง ช่วยให้คอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัย IMON ผู้ดูและตรวจสอบอีเมล์ จะสแกนไวรัส ในทุกๆอีเมล์ที่คุณได้รับ และตรวจหาไวรัสและทำการกำจัดก่อนที่ไวรัสจะมีโอกาสเข้ามาและทำร้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และเมื่อมีการอัปเดทใหม่ๆเข้ามา, NOD32 จะทำการอัปเดทโดยอัตโนมัติ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เปิดนโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์




1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 
1)สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ
 2) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

 3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง
 4) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
 5) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติ
 6) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
 7) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
  8) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท ทำให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท ผู้จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุแบบขั้นบันได อายุ 60-69 ปี 600 บาท, อายุ 70-79 ปี 700 บาท, อายุ 80-89 ปี 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก
  9) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556
 10) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงิน 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอสเอ็มแอล 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน
  11) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท จัดทำทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
  12) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555
  13) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน
  14) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม
  15) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มในโรงเรียนนำร่องแก่นักเรียน ป. 1 ปีการศึกษา 2555 และ
  16) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประธานเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

 ส่วนนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี จะดำเนินนโยบายหลักจากข้อ 2-8 ดังนี้
    2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สำคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนำพระราชดำริทั้งปวงไว้เหนือ     เกล้าเหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
    3.นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ ขยายการให้บริการน้ำสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาระบบรถ     ไฟทางคู่เชื่อมชานเมือง+หัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯเชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางในกทม.และปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน 4 ปี ค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย
   4.นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตำแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ
   5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
   6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ
   7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ
   8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมา  ภิบาล รวมถึงปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติรรมที่ดำเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ  

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดการสารสนเทศ

  การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหาและเผยแพร่สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบไปด้วย  กระบวนการจัดหาสารสนเทศ รวบรวมสารสนเทศ การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผล และการบำรุงรักษาสารสนเทศ โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญคือ เทคโนโลยี คน กระบวนการ และการบริหารจัดการ

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างของลักษณะการเรียนในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย

    

การเรียนในโรงเรียนเป็นการเรียนภาคบังคับ มีกฏ มีระเบียบ เป็นสังคมที่สนุกสนาน มาจากที่เดียวกันบ้าง ต่างหมู่บ้านต่างอำเภอ เป็นสังคมที่เล็กกว่าสังคมมหาวิทยาลัย การเรียน การสอน การทำงาน อาจารย์ก็ติดตาม ครอบครัวก็อยู่ใกล้ชิดมีคนคอยกำกับดูแล  แต่การเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นชีวิตที่มีอิสระคุณต้องรับผิดชอบตัวของคุณเอง  ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก ไม่มีใครมาคอยบอกคอยเตือนให้ คุณไปเรียน ให้ทำงานส่งอาจารย์ ให้ไปสอบ คุณต้องทำทุกอย่างด้วยตัวของคุณเอง เพราะนี่คืออนาคตของคุณ
   
                            
      
    






                                                                                                              

ความหมายของการรู้สารสนเทศและกระบวนการรู้สารสนเทศ

    การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม

การทำรายงานกลุ่ม
การทำงานเป็นทีม
   คือการทำงานเป็นกลุ่มบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน และมีการแบ่งหน้าทีกันอย่างพึงพอใจ การทำางานเป็นทีม (team work) คือกลุ่มบุคคลที่ีมีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน
ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม
-ผลงานย่อมสูงกว่าคนเดียวทำ
-มีความรู้สึกที่ดี
-ผลสำเร็จเป็นของทีมงาน
-เกิดพลัง
-เกิดความรักความสามัคคี
-มีสัมพันธภาพที่ดี
-ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ลักษณะที่ดีทีของการทำงานเป็นทีม
1. บรรยากาศภายในกลุ่ม
2. สมาชิกเข้าใจวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
3. สมาชิกปรึกษาในสิ่งที่ีเป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม
4. สมาชิกโต้แย้งกันด้วยเหตุผลและหลักการ
5. แม้มีข้อขัดแย้ง สมาชิกทุกคนยังเต็มใจที่จะเป็นส่วนรวมของกลุ่ม
6. การทำงาน มุ่งสร้างสรรค์ และแก้ปัญหา
7. เป็นประชาธิปไตย
8. ยอมรับในความสามารถของกันและกัน
9. ผู้นำและผู้ตามไม่บีบบังคับซึ่งกันและกัน
10. มีการตรวจสอบการทำงานของทีมเป็นระยะ ๆ
ปัจจัยที่ีมีผลกระทบต่อทีม
1. ความขัดแย้ง  6. การเสียสละ
2. ความจริงใจ   7. ความแตกต่าง
3. ผลประโยชน์  8. เรื่องส่วนตัว
4. การมีส่วนร่วม 9. ประสบการณ์
5. การนำเสนอ  10. การใช้คำพูด
การลดความขัดแย้งของทีม
1.เปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็น
2. หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องส่วนตัว
3. มุ่งประเด็นไปที่ข้อขัดแย้ง
4. อย่าใช้ภาษาดูหมิ่น เสียดสี 
5. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
6. ยึดหลักเหตุผล

  หัวใจของการทำงานเป็นทีม ขึ้นอยู่กับการมีผู้นำที่เข็มแข็ง ประคับประคองให้ทีมก้าวสู่ข้างหน้าตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ด้วยความมั้นใจ ผู้ตามเป็นบุคคลสำคัญที่จะขับเคลื่อนงานของทีมให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทีมงานต้องกระทำด้วยการร่วมใจร่วมคิดและร่วมทำ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เดาข้อสอบบทบาทสารสนเทศกับสังคม

1.เทคโนโลยีไฮเทคในปัจจุบันมีกี่กลุ่ม อะไรบ้าง
ตอบ 5 กลุ่ม เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.เทคโนโลยีสารสเทศมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อ GDP ของประเทศอย่างไร
ตอบ -ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม
         - ขยายตลาด
         - เกิดการจ้างงานตั้งแต่กรรมกรถึงวิศวกรรม
3.ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศกับบุคคล
  1.ATM:Autmatic Teller Machine
  2.Electronic Banking
  3.Knowledge management
  4.Tele-Conference
4.สารสนเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่มีชื่อเรียกว่าอย่างไร
ตอบ เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge-based Economy)
5.เทคโนโลยีใดเกี่ยวข้องกับการศึกษา
  1.Tele-Conference
  2.e-Commerce
  3.Virtual Reality
  4.fibre optics
6.ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการจัดการเรียนการสอนแบบใด
ตอบ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดตั้งรัฐบาล 54

พรรคร่วมรัฐบาล
โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลคือ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล และพรรคมหาชน
- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง
- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง
เมื่อรวมกับพรรคเพื่อไทย 265 ที่นั่ง ก็จะได้ 299 เสียงที่นั่ง
พรรคฝ่ายค้าน 
 -พรรคประชาธิปัตย์  ได้ ส.ส 159 ที่นั่ง
 -พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส  34 ที่นั่ง
 -พรรครักประเทศไทย  ได้ ส.ส 4 ที่นั่ง
 -พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส 2 ที่นั่ง
 -พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส 1 ที่นั่ง
 -พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส  1 ที่นั่ง
  รวม 201 เสียงที่นั่ง

ผลการเลือกตั้ง 54

 คะแนนแบบบัญชีรายขื่อ

พรรค

คะแนน

ร้อยละ

ที่นั่ง
 พรรคเพื่อไทย (พท.)          15,743,410  48.0%   61
 พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)          11,433,501  35.1%   44
 พรรคภูมิใจไทย (ภท.)          1,281,522  4.03%    5
 พรรครักประเทศไทย (ชูวิทย์)          998,527  3.0%    4
 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)          494,894  1.6%    2


พรรคการเมืองที่ได้จำนวนที่นั่งสูงสุด 5 อันดับ
อันดับพรรคการเมืองจำนวนที่นั่งแบบแบ่งแขตจำนวนที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนที่นั่งรวม
1พรรคเพื่อไทย (พท.)                204                 61        265
2พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)                115                 44        159
3พรรคภูมิใจไทย (ภท.)                29                  5          34
4พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)                15                  4          19
5พรรคหลังชล                 6                  1           7
5พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)                 5                  2           7

บทบาทสารสนเทศกับสังคม

1.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
   ปัจจุบันสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้าที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน สารสนเทศกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด และกำลังจะกลายเป็นฐานแหล่งอำนาจอันแท้จริงในอนาคต ทั้งในทางเศรษฐกิจ และทางการเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่มีผลเสียต่อภาวะแวดล้อมหรือมีเพียงเล็กน้อยมาก ยิ่งกว่านั้นสารสนเทศจะสามารถช่วยให้กิจกรรมการผลิตและการบริการต่าง ๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำสังคมสู่วิวัฒนาการอีกระดับหนึ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็น สังคมสารสนเทศ
    ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสานเทศ ในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
    1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
    2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
    3) การยอมรับจากสังคม
    4) การนำไปใประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
    5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1991 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุกๆประเด็น
2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
    เทคโนโลยีสารสนเทศถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ เพราะการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันจึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ
3.สารสนเทศกับบุคคล
    การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ(ATM:Automatic Teller Machine) ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์(Electronic Banking)การประชุมทางไกล(Tele-Conference)การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์(e-Commerce)การศึกษาทางไกล(Tele-Education)ระบบห้องสมุดดิจิตอล(Digital Library)
4.สารสนเทศกับสังคม
  4.1 ด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา
   4.2 ด้านสังคม สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสัดวกสบายในการดำเนินชีวิต
   4.3 ด้านเศรษฐกิจ สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge-Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ "การจัดการความรู้"(knowledge managament) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้ารธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน
   4.4 ด้านวัฒนธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคี ความมั่นคงในชาติ
5.บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
   1.เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาศทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน(Education for All)" อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา
    2. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวคือนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหวนอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรมการประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet Conference) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากรและเวลา

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การกระทำที่ไม่ดี

วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2554 รายวิชา 0026008 ตึก D ห้อง 409 มีนิสิตชาย 2 คน ชื่อ ปรีชาและอนุเดช แต่งกายไม่เรียบร้อย แล้วก็โดนอาจารย์หักคะแนนไปเรียบร้อยแล้ว

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
  ข้อมูล(Data) หมายถึง เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า รายการส่งสินค้า ยอดขายในแต่ละวัน
   สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการทางความคิด คำนวณ ประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชชน์ตามวัตถุประสงค์ ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา
ความสำคัญของสารสนเทศ
    -กำหนดแนงทางการพัฒนานโยบายทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรม
    -การพัฒนามนุษย์และสังคม โดยเสริมสร้างความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
    -เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ช่วยวางแผนและช่วยตัดสินใจ
ประเภทของสารสนเทศ
   จำแนกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1.ตามแหล่งสารสนเทศ ดังนี้
  1.1.แหล่งปฐมภูมิ(Primary  Source) คือ
  -ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง
  -เป็นสารสนเทศทางวิชาการ เช่น ผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  -ถูกถ่ายทอดในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย
  1.2.แหล่งทุติยภูมิ(Secondary  Source) คือ
  -เกิดจากการรวบรวมเรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
  -อยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง
  1.3.แหล่งตติยภูมิ(Tertiary  Source) คือ
  -ทำขึ้นเพื่อใช้ค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ
  -มีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา
  -เผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
2.ตามสื่อที่จัดเก็บและบันทึกข้อมูล
  1.กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก
  2.วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งชนิดม้วนและแผ่น
  3.สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึก และแก้ไขข้อมูลได้สะดวก
  4.สื่อแสงหรือสื่อออปติก เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล และอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์
แหล่งสารสนเทศ
  1.แหล่งที่เป็นสถาบัน หมาถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดหารวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่างๆมาจัดเก็บไว้อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้
  2.แหล่งที่เป็นสถานที่ หมายถึง แหล่งที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหาความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น
  3.แหล่งที่เป็นบุคคล -ประเภทที่มีผลงาน
                                       -ประเภทไม่มีผลงานเป็นวัสดุสารสนเทศ
  4.แหล่งที่ป็นเหตุการณ์ กิจกรรมต่าง ๆที่เกิดขึ้น
  5.แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน วิทยุ โทรทัศน์
  6.แหล่งที่เป็นอินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการศึกษา ค้นคว้าอย่างมากมาย
ทรัพยากรสารสนเทศ(Information Resources or Information Materials)
   หมายถึง วัสดุหรือสิ่งที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และความคิดต่าง ๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
   1.ทรัพยากรตีพิมพ์(Printed  Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณ์เป็นแผ่นหรือตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดหลากหลายรูปแบบจำแนกได้ดังนี้ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค
  2.ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์(Non-print Material) คือการใช้สารสนเทศให้ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางการดู หรือการฟัง จำแนกได้ดังนี้
  -ทัศนวัสดุ(Visual Materials) เป็นการรับรู้ด้วยการดู การมอง หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับฉายประกอบ
  -โสตวัสดุ(Audio Materials) เป็นการรับรู้ด้วยการฟังอย่างเดียว
  -โสตทัศนวัสดุ(Audiovisuai Materials) เป็นทรัพยากรที่ให้เสียงและภาพเคลื่อนไหว จึงนับเป็นทรัพยากรที่สื่อสารสนเทศได้ครบถ้วนมาก
  3.สื่ออิเล็กทรอนิกส์(Eiectronic Materials)
     คือการจัดเก็บสารสนเทศข้อมูลใด ๆ ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกออกเป็น
   -ฐานข้อมูลออฟไลน์(Offlline Database) เป็นสารสนเทศที่สื่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้น หากต้องการใช้สารสนเทศข้ามเครื่องจะต้องบันทึก(Copy) สัญญาณดิจิทัลลงในสื่อ
   -ฐานข้อมูลออนไลน์(Online Database) เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการปัจจุบันนี้ระบบที่ใช้กันในชีวิประจำวันก็คืออินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คติ....ที่ควรจำ

อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิ่น
อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา
อย่าเสวนาคนชั่ว อย่ามั่วอบายมุข
อย่าสุกก่อนห่าม อย่าพล่ามก่อนทำ
อย่ารำก่อนเพลง อย่าข่มเหงผู้น้อย
อย่าคอยแต่ประจบ อย่าคบแต่เศรษฐี
อย่าดีแต่ตัว อย่าชั่วแต่คนอื่น
อย่าฝืนกฎระเบียบ อย่าเอาเปรียบสังคม
อย่าชื่นชมคนผิด อย่าคิดเอาแต่ได้
อย่าใส่ร้ายคนดี อย่ากล่าววจีมุสา
อย่านินทาพระเจ้า อย่าขลาดเขลาเมื่อมีทุกข์
อย่าสุขจนลืมตัว อย่าเกรงกลัวงานหนัก
อย่าพิทักษ์พาลชน อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติ

ชื่อ: มาริสา  หาญลี
ชื่อเล่น: แพท
เกิด: วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2535
ที่อยู่: 112 ม.14 ต. นาเพียง อ. ชุมแพ จ.ขอนแก่น 40130
สีที่ชอบ: ขาว ดำ
งานอดิเรก: ฟังเพลง วาดภาพ
อาหารที่ชอบ: แกงเขียวหวาน
กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม (HOS) ปี 1